ปฏิรูปการศึกษา นำศาสตร์พระราชาสู่การเรียนรู้

การปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา นำศาสตร์พระราชาสู่การเรียนรู้

การสัมมนา “เรื่องการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาตามรัฐธรรมนูญ โดยนำหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ตามศาสตร์พระราชาไปสู่การจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา” ดร.ตวง อันทะไชย ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา กล่าวว่า วิกฤตโควิด-19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้งวิถีชีวิต วัฒนธรรมความเชื่อ กระบวนการจัดการเรียนรู้ วิธีวัดผลประเมินผล การผลิตครู โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเกิดวิกฤตยูเครน รัสเซียที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง รวมถึงพลังงาน จากวิกฤตต่าง ๆ ถ้าเรามีการจัดการศึกษาที่ดีจะทำให้เรามีภูมิคุ้มกัน และสามารถพึ่งพาตนเองได้

ทิศทางการจัดการศึกษาของประเทศไทย คือ ต้องมีทักษะความเป็นพลเมืองของโลก ได้แก่ การมีทักษะดิจิทัล และการจัดการศึกษาเพื่อความอยู่รอดปลอดภัย นั่นคือ การเรียนรู้ตามศาสตร์พระราชา ซึ่งเป็นสิ่งที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระราชทานให้กับคนไทย เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางด้านอาหาร สามารถพึ่งพาตัวเองได้

ในยามที่ทั่วโลกเกิดวิกฤต ทั้งวิกฤตเศรษฐกิจ วิกฤตทางสังคม วิกฤตพลังงาน วิกฤตการขาดแคลนอาหารประเทศไทย คือ ประเทศที่โชคดีที่สุดในโลก ที่มีศาสตร์พระราชาเป็นธงชัย ต่อให้ต้องปิดประเทศ 20 ปี เราก็สามารถอยู่รอดได้ ผมมั่นใจว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความมั่นคงทางอาหาร ถ้าเราสามารถนำศาสตร์พระราชา ไปสู่กระบวนการเรียนรู้ได้ เพราะเมื่อผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ ได้คิด ได้แก้ปัญหาด้วยตัวเอง องค์ความรู้นั้นก็จะอยู่ในตัวผู้เรียน และเป็นความรู้ที่ยั่งยืน เพราะฉะนั้นศาสตร์พระราชาจึงเป็นทางเลือก ทางรอดของประเทศ”ดร.ตวง กล่าว

ปฏิรูปการศึกษา นำศาสตร์พระราชาสู่การเรียนรู้

ดร.ศักดิ์สิน โรจน์สราญรมย์ กรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา กล่าวว่า การนำหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ตามศาสตร์พระราชาไปสู่การจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาเป็นการสืบสานศาสตร์พระราชา 3 ด้าน หรือ 3 มิติ ที่ครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมสู่การพัฒนาประเทศให้มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ดังนี้

ด้านที่ 1 เป็นการนำองค์ความรู้ของศาสตร์พระราชาสาขาต่าง ๆ ไปกำหนดเป็นสาระการเรียนรู้หรือเนื้อหา ให้ผู้เรียนทุกระดับตั้งแต่อนุบาลจนถึงมหาวิทยาลัย รวมถึงการศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาต่อเนื่องและการศึกษาตลอดชีวิต

ด้านที่ 2 เป็นการนำวิธีทรงงาน 27 วิธีมาเป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ เพื่อสร้างลักษณะนิสัยการทำงานที่ดีให้ติดตัวผู้เรียนเป็นการเรียนรู้ผ่านเทคนิคกระบวนการ สอดคล้องกับการทรงงาน คือ หลักธรรม หลักคิด และหลักปฏิบัติ

ส่วนด้านที่ 3 จะสัมพันธ์เชื่อมโยงกับพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 10 ที่เน้นให้การศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน 4 ด้าน คือ

1. มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง

2. มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม

3. มีงานทำ มีอาชีพ และ

4. เป็นพลเมืองดี

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ ksfuerte.com

ufa slot

Releated